แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เสาเข็มตอก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เสาเข็มตอก แสดงบทความทั้งหมด

การเลือกใช้ แผ่นพื้นสำเร็จรูป

การเลือกใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป


      การเลือกใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

                                       มีลูกค้าโทรมาสอบถามราคาเราและปรึกษาเราว่าจะใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแต่ไม่รู้จะใช้แบบไหน  หนาเท่าไหร่ ลวดกี่เส้น  ทางเราก็ย้อนถามลูกค้าไปว่า จะเอาไปทำอะไร เช่น ทำบ้าน ทำอาคารพาณิชย์ คอนโด หรือโรงงานเป็นต้น โดยปกติรูปแบบของแผ่นพื้น 90 เปอร์เซ็นจะถูกกำหนดมาในแบบแล้ว ว่าใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบใด หนาเท่าไหร่ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ไม่น้อยว่าเท่าไหร่  นอกเหนือจากทางเจ้าของบ้านต่อเติมหรือทำงานโดยไม่มีแบบแปลน  วันนี้จึงอยากพาทุกท่านไปรู้จักกับชนิดของแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบต่างๆว่าแต่ละชนิดเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร


1.)    แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปท้องเรียบ

                แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบเป็นแผ่นคอนกรีตอัดแรงชนิดท้องเรียบ  รูปหน้าตัดเหมือนแผ่นกระดาน กว้าง0.35m. หนา 0.05 m.  ความยาวไม่เกิน 4.50 m. มีตั้งแต่ใช้ลวดแรงดึงสูงขนาด 4mm. อัดแรงเข้าไปในคอนกรีต มีตั้งแต่ 4 เส้นจนถึง 8เส้น แล้วแต่น้ำหนักใช้งาน ข้อกำหนดของการใช้งาน  วางเรียงชิดกันตลอดด้านท้องเรียบไม่ต้องฉาบปูนฝ้าเพดาน ทาสีทับได้เลยเมื่อเทคอนกรีตทับหน้า (Structural  Topping)แล้วจะทำงานเป็นเนื้อเดี่ยว กันกับแผ่นพื้นสำเร็จรูป
                การใช้ประโยชน์  เหมาะสำหรับงานอาคารโดยทั่วไป ทุกขนาด  เพราะการใช้พื้นสำเร็จรูปทำให้การก่อสร้างรวดเร็วและประหยัดกว่าพื้นระบบหล่อในที่  พื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ ทีริช ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับช่วงพาด ตั้งแต่สั้น 1-5 เมตร

2)     แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ลอนโค้ง

                  แผ่นพื้นสำเร็จรูปลอนโค้ง ถูกออกแบบให้มีการรับน้ำหนักเหมือนคาน ซึ่งรับน้ำหนักได้มากกว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ ทั่วไป ทำให้การทำงานไม่ต้องมีค้ำยันในขณะติดตั้ง ทำให้เกิดความปลอดภัย ประหยัดทั้งเงินและเวลาในการก่อสร้าง
                การใช้ประโยชน์ เหมากับงานประเภทที่รับน้ำหนักจรมาก (มากว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ)และพื้นที่การก่อสร้างที่ไม่สามารถค้ำยันท้องพื้นเวลาเทคอนกรีตทับหน้าได้


3เแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดมีรู    (Hollow Core Slab)


                       แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ชนิดมีรูกลวง เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรง ที่มีรูกลวง ซึ่งเหมาะสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ที่รับน้ำหนักเยอะๆๆ ความยาวมากๆ  และความกว้างและความหนา ของแผ่นพื้นก็แล้วแต่โรงงานจะผลิตตามสเปกของแบบก่อสร้างนั้น     แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบมีรูนั้นถูกผลิตด้วยด้วยระบบ Wet Concrete  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เชื่อถือได้ ในความหนาแน่นสม่ำเสมอ ทุกส่วนของเนื้อคอนกรีตและสามารถทนแรงสั่นสะเทือนได้ดี   คุณสมบัติเด่นในด้านการป้องกันเสียง และอุณหภูมิ   แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดกรวง ทำด้วยคอนกรีตอัดแรงที่มีผิวแข็งแกร่ง และมีรูกลวงขนาดใหญ่ดังนั้นช่องอากาศภายใน จึงช่วยลดการผ่านของเสียง  หรือการแพร่ หรือกระจาย ของอุณหภูมิไม่ว่าจะเป็นอุณภูมิเย็นหรือ ร้อนก็ตาม   และประโยชน์ของรูกลวงสามมารถใช้ประโยช์ในการเดินท่อสายไฟหรือใช้เป็นร่องระบายโอกาศ    


เสาเข็มตัวไอ กำแพงกันดิน

เสาเข็มทำกำแพงกันดิน 


                มีลูกค้าโทรมาถามบ่อยมากครับ ว่าจะทำกำแพงกันดินสูงเท่านั้น  เท่านี้ อีกด้านเป้นคลอง
และใช้เสาเข็มตอกยาวเท่าไหร่รวมถึงใช้แผ่นพื้นด้วยว่าจะหล่อแผ่นยาวเท่าไหร่  ?????
        ขอเรียนลูกค้าอย่างนี้นะครับ ว่างานกันดินหรืองานเขื่อนนั้น ไม่ว่าจะเป็นความยาวเข็ม
ขนาดของเข็ม หรือแม้แต่ ระยะที่ตอกเข็ม  นั้นต้องได้การคำนวนมาจากวิศวกรผู้ออกแบบ
แต่ถ้าลูกค้าอยากจะสร้างแล้วจะซื้อเสาเข็มและแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปจากโรงงานเรา
เราออกแบบและให้คำปรึกษาฟรี

ขอขอบคุณคุณเพชร ที่ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจากโรงงานเรา ใช้เสาเข็มคอนกรีต
อัดแรงรูปตัวไอขนาด 18x18x8 เมตร และเสริม Dowel 6 DB20 ยาว 4 เมตร


เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มตัวไอ

เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มตัวไอ

http://www.trichgroup.com/p/blog-page_3.html


เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มตัวไอ

เสาเข็มตัวไอ
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า บริการของเราได้ 02 988 5559, 0890795722
หรือ idline: @TRICH  (มี@นำหน้า)
Email: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

จัดส่ง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา รามอินทรา ลำลูกกา ปทุมธานี รังสิต หลองหลวง
 วังน้อย อยุธยา บางประอิน กรุงเทพ สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระราม2
พระราม3 พระราม 4 พระราม 5 นนทบุรี บางใหญ่ บางพลี

ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์)
จัดทำบทความโดย: ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)  สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่
 ก่อนได้รับอนุยาตจาก ที.ริช กรุ๊ป ดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์
 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์
และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

...................................................................................................................................


ปัญหา เสาเข็มเยื้องศูนย์

การตรวจสอบเสาเข็มกลุ่มเยื้องศูนย์

   การทำเสาเข็มไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะเราคงหลีกเลี่ยงเสาเข็มเยื้องศูนย์ไม่ได้การตรวจสอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเสาเข็มเยื้องศูนย์มีดังต่อไปนี้









1.    ตรวจสอบเสาเข็ม  ต้องคำนวณแรงปฎิกิริยาในเสาเข็มซึ่งของเดิมจะใช้ไม่ได้ แรงอัดในเสาเข็มอาจเปลี่ยนแปลงไปถ้ามีการเยื้องศูนย์ โมเมนต์ที่เกิดจากการเยื้องศูนย์อาจทำให้เสาเข็มแต่เดิมรับแรงอัดกลับกลายมาเป็นรับแรงดึง ต้องตรวจสอบ Dowel ของเสาเข็มว่ามีเพียงพอหรือไม่และตรวจสอบว่าแรงในเสาเข็มจะต้องไม่เกินน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยหรือไม่  การเยื้องศูนย์ของเสาเข็มอาจทำให้เกิดโมเมนต์ในเสาเข็มซึ่ง งานเสาเข็มตอกไม่สามารถรับโมเมนต์ได้ อาจจะต้องใส่เหล็กในเสาเข็มเพิ่มถ้าสามารถทำได้ หรือใช้วิธีกำจัดโมเมนต์ทิ้งไปโดยวิธีการตอกเสาเข็มแซมจะกล่าวต่อไป


2.   การคำนวณศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็ม   เมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ ทำให้ CG ของกลุ่มเสาเข็มเปลียนไปต้องหาตำแหน่งของจุด CG ใหม่ เพราะว่าCg จะเป็นตัวบอกว่าการเยื้องศูนย์ดังกล่าวนั้น เยื้องไปมากหรือน้อยเพี่ยงใด         ตำแหน่งจดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็มหาได้จะกล่าวในโอกาสต่อไป 

3.   การหาแรงปฎิกิริยา ในเสาเข็ม   (รายละเอียดจะกล่าวไว้ในโอกาสต่อไป)     และ  เมื่อได้แรงปปฎิริยาในเสาเข็มแต่และต้นแล้วก็สามารถทราบถึงภาระในการรับนำหนักของเข็มที่เปลี่ยนไปจากเดิมและต้องไม่เกินน้ำหนักปลอดภัยของเข็มต้นนั้นๆด้วย

4.     ตรวจสอบ เสาตอม่อ เมื่อเกิดการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มแล้ว โมเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอาจจะดัดเสาตอม่อซึ่งต้องพิจารณาด้วยว่าตอม่อเดิมเหล็กรับโมเมนต์และแรงเฉือนเพียงพอหรือไม่ 

5.      ตรวจสอบฐานราก เมื่อเสาเข็มเยื้องศูนย์ ก็จะทำให้เกิดโมเมนต์ในฐานรากเพิ่มขึ้นด้วย ต้องตรวจสอบเหล็กเสริมในฐานรากว่าเพียงพอหรือไม่





   

  แนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดการเยื้องศุนย์ระหว่างจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็มและฐานราก




1.     การตอกเสาข็มแซม  หลักของการทำเสาเข็มแซม คือ พยายามให้จุดศูนย์ถ่วงของเสาเข็มอยู่ตรงกับตำแหน่งเสาตอม่อเพื่อป้องกันการเยื้องศูนย์ของเสาเข็ม ซึ่งอาจทำให้โมเมนต์ทั้งในฐานรากและตอม่อไม่ตรงตามที่ออกแบบไว้แต่เดิม อาจจะต้องเพิ่มปริมาณของฐานรากหรือเหล็กเสริมด้วย


2.  การหมุนฐานราก เป็นวิธีที่เปลี่ยนแกนของฐานราก เสาเข็มกลุ่มใหม่จะมีจุดศูนย์ถ่วงอยู่ตำแหน่งเสาตอม่อทำให้แรงปฎิริยาในเสาเข็มไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีข้อเสียคือจะต้องใช้เสาเข็มใหม่แทนเข็มเก่าซึ่งสิ้นเปลือง

3.     การทำคานยึดรั้ง   เมื่อเกิดโมเมนต์ในฐานรากจะต้องกำจัดโมเมนต์โดยทำคานยึดรั้งหรือฐานรากร่วม ยึดไว้กับโครงสร้างด้านใน เพื่อทำลายโมเมนต์ที่เกิดขึ้น

     




จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม

วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)

สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม

ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 

ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย









ตอกเข็มให้ปลอดภัย

ความปลอดภัยในการตอกเสาเข็ม





ขอบคุณที่มา; ความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงมหาดไทย
http://www.youtube.com/watch?v=QpNTqJEI_Lw
เพื่อการศึกษาเท่านั้น



การตรวจสอบการตอกเข็มมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.      ผู้ควบคุมงานหรือวิศวกร ควรศึกษาแบบแปลนก่อสร้างให้เข้าใจ เพื่อวางแผนการตอกเสเข็มให้สามารถตอกเข็มได้อย่างต่อเนื่องและย้ายปั้นจั้นให้น้อนที่สุด2.      ศึกษารายการคำนวนเสาเข็ม Blow cout น้ำหนักของลูกตุ้ม ขนาดของเสาเข็ม ความยาวระยะยกลูกตุ้ม ให้เข้าใจเพื่อการตรวจสอบก่อนการตอกเข็ม
3.      เตรียมสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นไฟฟ้า ,น้ำประปา เส้นทางลำเลียงเสาเข็มเป็นต้น4.      ตรวจสอบความแข็งแรงและตำแหน่งของปั้นจั่นให้ตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก
5.      ตรวจสอบอายุของเสาเข็ม รอยแตกร้าวต่างๆของเสาเข็ม
6.      ตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านเมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก
7.      ระหว่างการตอกควรตรวจสอบดิ่งของเสาเข็มเป็นระยะๆ และระหว่างตอกควรสังเกตเชือกสลิงตอนที่ลูกตุ้มตกว่าหย่อนหรือป่าวเพื่อตรวจสอบระยะยกลูกตุ้ม
8.      ควรหยุดตอกเมื่อปลายเสาเข็มส่วนแรกอยู่จากระดับดินประมาณ 30 ซม. เพื่อเตรียมเชื่อมต่อความยาว
9.      ตรวจสอบรอยเชื่อมให้เคาะตะกรันเชื่อมออกให้หมด หากพบว่ารอยเชื่อมยังไม่สมบูรณ์ให้ทำการเชื่อมซ้ำให้รอยเชื่อมเสมอกับผิวของเสาเข็ม  ก่อนตอกต้นที่2 ให้ยกลูกตุ้มกระแทก 2-3 ครั้งแล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมอีกครั้งหากไม่มีข้อบกพร่องให้ตอกต่อไปจนถึงระยะนับ Blow Count
10.  เมื่อตอกเสาเข็มจนถึงระยะนับ Blow Count  ให้เริ่มนับจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเสาเข็มที่จมไปทุกๆช่วง 30 ซม.ตามที่ผู้ออกแบบกำหนด
11.  กรณีตอกเสาเข็มจนเสมอระดับดินแล้วแต่ยังไม่ผ่านการนับ Blow Count ให้ถอดหมวกครอบเข็มออกแล้วติดตั้งหัวส่งเสาเข็มเพื่อตอกเข็มต่อให้ Blow Count ตามผู้ออกแบบกำหนด
12.  ตรวจสอบ Last 10 blow เป็นการเทียบอัตราการทรุดตัวจากการตอกจำนวน10ครั้งจะกระทำซ้ำกันจำนวน 3 ครั้งตามขั้นตอนดังนี้
12.1    ในกรณีที่เสาเข็มโผล่เหนือดินการวัดระยะ 10 ครั้งสุดท้ายได้โดยตรงจากทำเส้นไว้ที่เสาเข็ม แต่ถ้าใช้หัวส่งเสาเข็มต้องใช้อุปกรณ์ช่วยวัดการทรุดตัวเช่น ท่อPVC ค้ำยันระหว่างปั้นจั่นกับพื้นดินแล้วขีดเส้นอ้างอิงก่อตอกเข็ม
12.2    ใช้ปั้นจั่นตอก 10 ครั้งแล้ววัดระยะการทรุดตัว ทำซ้ำกัน 3 รอบ การทรุดตัวที่วัดได้จะต้องไม่เกินค่าที่ผู้ออกแบบกำหนด  ถือว่าเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็มต้นนั้น

เสาเข็มเจาะเปียก


ขั้นตอนการทำเข็มเจาะ (Bore Piles) สำหรับอาคารขนาดใหญ่
 1. เจาะเปียก (Wet Process)


ขั้นตอนที่ 1 ให้ใส่ปลอกเหล็ก WET PROCESS
1.1 ให้ใส่ปลอกเหล็ก ( STELL CASING ) เพื่อป้องกันดินส่วนบนพัง ยาวไม่น้อยกว่า 14.00 ม. และปลายปลอกเหล็กจะต้องลึกเลยชั้น SOFT CLAY ในช่วงความยาวภายในปลอกเหล็กนี้จะขุดโดยไม่เติม DRILLING LIQUID ลงในหลุมก็ได้ เนื่องจากมีปลอกเหล็กป้องกันดินพังติดตั้งอยู่แล้ว เมื่อขุดเลยระดับใต้ปลอกถ้ามีน้ำไหลเข้ามาในปลอกจะต้องใส่ LIQUID โดยใช้ BENTONITE เพื่อทำหน้าที่ต้านแรงดันภายในหลุมที่จะทำให้เกิดการพังทลายได้
1.2 เมื่อทำการเจาะจนถึงระดับที่ต้องการแล้ว ก่อนการติดตั้งเหล็กเสริมจะต้องตรวจสอบความดิ่งและการพังทลายของหลุมเจาะด้วยวิธี หรือเครื่องมือที่เหมาะสมหากทราบว่ามีการพังทลายเกิดขึ้นจะต้องชักโครงเหล็กขึ้นมาทำการแก้ไขให้เรียบร้อย จึงลงโครงเหล็กเสริมใหม่
1.3 เมื่อวางโครงเหล็กเสริม และตรวจสอบกับรูเจาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการเทคอนกรีตได้ BENTONITE SLURRY โดยใช้ท่อ TREMIE PIPE ที่มีขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในหลุมเข็มเจาะจนเกือบถึงก้นหลุม โดยให้ปลายท่อห่างกับหลุมเพียงเล็กน้อย โดยมี PLUG อยู่ในท่อ ลอยอยู่เหนือ SLURRY PLUG อาจใช้ลูกบอลยาง โฟม หรือ สารชนิดอื่น ๆ ที่วิศวกรผู้ออกแบบเห็นชอบแล้ว TREMIE PIPE จะต้องฝังอยู่ในคอนกรีตประมาณ 2.00 ม. ซึ่งอาจน้อยกว่าได้ตามสภาพความเหมาะสมแต่ในขณะดัดต่อท่อ TREMIE ท่อต้องจมอยู่ในเนื้อคอนกรีตประมาณ 3-5 ม. ขณะเทคอนกรีตต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคอนกรีตที่เท เทียบกับปริมาณตามแบบไว้ทุกระยะการเทในขณะเทคอนกรีตท่อ TREMIE PIPE จะหลุดจากคอนกรีตที่เทแล้วในหลุมเจาะไม่ได้
1.4 ให้หล่อคอนกรีตหัวเสาเข็ม สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ1.20-1.50
1.5 เมื่อเทคอนกรีตจนได้ระดับแล้ว จึงทำการถอนปลอกขึ้นได้
1.6 หากวิธีการเจาะหรือตรวจสอบใด ๆ ที่มิได้กล่าวไว้แล้วก็ตาม หากระหว่างการทำงาน ผู้รับจ้างเห็นว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมใด ๆ เพื่อให้งานที่คุณภาพดีขึ้น ผู้รับจ้างจะต้องเสนอต่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เพื่อให้ความเห็นชอบ
1.7 BENTONITE SLURRY
- BENTONITE SLURRY ที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติ
ก. ค่า PH ไม่ต่ำกว่า 7 ทดสอบโดยวิธี PH indicator paper atripa
ข. DENSITY อยู่ระหว่าง 1.05 - 1.2 ตัน/ลบ.ม. และปริมาณที่ใช้ผสม 2-6%
ค. VISCOSITY อยู่ระหว่าง 3090 SEC> ( MARCH`CONE TEST )
ง. SAND CONTENT ไม่เกิน 6% ทดสอบโดย NO. 200 Seive H.S.MESH ค่าเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจการจ้างในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เห็นว่า BENTONITE นั้นสกปรกหรือมีคุณสมบัติต่าง ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงานมีสิทธิ์ที่จะห้ามใช้ BENTONITE SLURRY นั้นได้
จ. จะต้องทดสอบคุณสมบัติเหล่านี้ จาก BENTONITE SLURRY ในหลุมเจาะจริงด้วย

 ขั้นตอนที่ 2 ข้อกำหนดของคอนกรีต

2.1 คอนกรีตที่ใช้ทำเสาเข็มเจาะ จะต้องมีกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมาตรฐาน รูปทรงลูกบาศ์ก ( CUBE ) 0.15x0.15x0.15 เมื่อมีอายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า280 KSC. โดยมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 15-20 ซม. ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ประเภทที่ 1
2.2 คอนกรีตที่ใช้งานเสาเข็มเจาะ ต้องมีเวลาการก่อตัวไม่น้อยกว่า 5 ซม. และต้องเหมาะสมกับระยะเวลาการเทคอนกรีต
2.3 ผู้รับจ้างงานเสาเข็มเจาะ ต้องเสนอ MIX DESIGN ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาอนุมัติ การเสนอ จะต้องส่งผลการทดสอบกำลังอัดมาด้วย อย่างไรก็ตามความรับผิดชอบในเรื่องคุณภาพ คุณสมบัติของคอนกรีตที่เทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง
2.4 การเก็บตัวอย่างแท่งคอนกรีตของเสาเข็มเจาะ 1 ตัน เก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่า 3 ชุด ชุดละ 3 แท่ง และค่าใช้จ่ายในการเก็บตัวอย่าง การทดสอบ ผู้รับจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด


ขั้นตอนที่ 3 ข้อกำหนดของการเสริมเหล็กในเสาเข็มเจาะ

เหล็กยืน ให้เสริมขนาดตั้งแต่ 12 มม. ขึ้นไปให้ใช้เหล็กข้ออ้อย SD-40 ตามมาตรฐาน มอก. และมีปริมาณไม่น้อยกว่า 0.5% ขอยหน้าตัดเสาเข็ม
เหล็กปลอกให้เสริมขนาด 9 มม. ระยะ 0.30 ม.ให้ใช้เหล็กกลม SR-24 ตามมาตรฐาน มอก.

 ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะ โดยการทำ จะต้องทดสอบตามมาตรฐาน



ขั้นตอนที่ 5 การบันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะ
รายละเอียดดังนี้
5.1 วัน เดือน ปี าที่ทำการเจาะและเทคอนกรีตของเสาเข็ม
5.2 หมายเลขกำหนดตำแหน่งเสาเข็มเจาะ
5.3 ระดับดินเดินก่อนทำการเจาะ
5.4 ระดับปลายเสาเข็ม
5.5 ระดับหัวเสาเข็ม
5.6 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวเสาเข็มเจาะ
5.7 รายละเอียดเหล็กเสริมเสาเข็มเจาะ
5.8 ความคลาดเคลื่อนของศูนย์และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
5.9 รายละเอียดของชั้นดิน จะต้องเก็บตัวอย่างของชั้นดิน ณ จุดที่ทำเสาเข็มส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบ และจะต้องจัดทำรายการของชั้นดินที่ผิดแปลกไปส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบทราบทันที
5.10 รายละเอียด อุปสรรคที่เกิดขึ้นหรือเหตุผิดปกติต่างๆจะต้องแก้ไขให้สำเร็จถูกต้องตามหลักวิชาการ

ที่มา : http://www.pramuanmongkol.com



จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย








ตอกเข็ม เขาทำกันอย่างไร


การตรวจสอบงานเสาเข็มตอก









การตรวจสอบการตอกเข็มมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.      ผู้ควบคุมงานหรือวิศวกร ควรศึกษาแบบแปลนก่อสร้างให้เข้าใจ เพื่อวางแผนการตอกเสเข็มให้สามารถตอกเข็มได้อย่างต่อเนื่องและย้ายปั้นจั้นให้น้อนที่สุด2.      ศึกษารายการคำนวนเสาเข็ม Blow cout น้ำหนักของลูกตุ้ม ขนาดของเสาเข็ม ความยาวระยะยกลูกตุ้ม ให้เข้าใจเพื่อการตรวจสอบก่อนการตอกเข็ม
3.      เตรียมสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นไฟฟ้า ,น้ำประปา เส้นทางลำเลียงเสาเข็มเป็นต้น4.      ตรวจสอบความแข็งแรงและตำแหน่งของปั้นจั่นให้ตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก
5.      ตรวจสอบอายุของเสาเข็ม รอยแตกร้าวต่างๆของเสาเข็ม
6.      ตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านเมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก
7.      ระหว่างการตอกควรตรวจสอบดิ่งของเสาเข็มเป็นระยะๆ และระหว่างตอกควรสังเกตเชือกสลิงตอนที่ลูกตุ้มตกว่าหย่อนหรือป่าวเพื่อตรวจสอบระยะยกลูกตุ้ม
8.      ควรหยุดตอกเมื่อปลายเสาเข็มส่วนแรกอยู่จากระดับดินประมาณ 30 ซม. เพื่อเตรียมเชื่อมต่อความยาว
9.      ตรวจสอบรอยเชื่อมให้เคาะตะกรันเชื่อมออกให้หมด หากพบว่ารอยเชื่อมยังไม่สมบูรณ์ให้ทำการเชื่อมซ้ำให้รอยเชื่อมเสมอกับผิวของเสาเข็ม  ก่อนตอกต้นที่2 ให้ยกลูกตุ้มกระแทก 2-3 ครั้งแล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมอีกครั้งหากไม่มีข้อบกพร่องให้ตอกต่อไปจนถึงระยะนับ Blow Count
10.  เมื่อตอกเสาเข็มจนถึงระยะนับ Blow Count  ให้เริ่มนับจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเสาเข็มที่จมไปทุกๆช่วง 30 ซม.ตามที่ผู้ออกแบบกำหนด
11.  กรณีตอกเสาเข็มจนเสมอระดับดินแล้วแต่ยังไม่ผ่านการนับ Blow Count ให้ถอดหมวกครอบเข็มออกแล้วติดตั้งหัวส่งเสาเข็มเพื่อตอกเข็มต่อให้ Blow Count ตามผู้ออกแบบกำหนด
12.  ตรวจสอบ Last 10 blow เป็นการเทียบอัตราการทรุดตัวจากการตอกจำนวน10ครั้งจะกระทำซ้ำกันจำนวน 3 ครั้งตามขั้นตอนดังนี้
12.1    ในกรณีที่เสาเข็มโผล่เหนือดินการวัดระยะ 10 ครั้งสุดท้ายได้โดยตรงจากทำเส้นไว้ที่เสาเข็ม แต่ถ้าใช้หัวส่งเสาเข็มต้องใช้อุปกรณ์ช่วยวัดการทรุดตัวเช่น ท่อPVC ค้ำยันระหว่างปั้นจั่นกับพื้นดินแล้วขีดเส้นอ้างอิงก่อตอกเข็ม
12.2    ใช้ปั้นจั่นตอก 10 ครั้งแล้ววัดระยะการทรุดตัว ทำซ้ำกัน 3 รอบ การทรุดตัวที่วัดได้จะต้องไม่เกินค่าที่ผู้ออกแบบกำหนด  ถือว่าเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็มต้นนั้น 



............................................................................................................

จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย










ผลิตและจำหน่ายเสาเข็มและแผ่นพื้นสำเร็จรูป


เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ และผลงานขายของเราได้ที่
ผลิตภัณฑ์ แผ่นพื้นสำเร็จรูปและเสาเข็มอัดแรง

http://www.trichgroup.com/
ผลิตภัณฑ์ อิฐมวลเบา
http://xn--12cf9azas5bpor1d4cbbs0g2e.blogspot.com/
ผลิตภัณฑ์ ปูนซีเมนต์
http://xn--12cfu4bgobn0dwa9nb6a5cl7hsj.blogspot.com/

"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"
บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด จากประสบการณ์ การทำงานก่อสร้างให้ลูกค้ามาเป็นเวลา 10 ปีเราเข้าใจดี
อะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ โครงการก่อสร้างของท่านประสบณ์ความสำเร็จ ท่านคงปฎิเสธไม่ได้ว่า"ต้นทุนที่ต่ำเท่าไหร่ ผลกำไรก็มากเท่านั้น"
อีกอย่างบริษัทของเรามีโรงงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีต ซึ่งทำให้เรามีสินค้าที่สามารถรองรับบความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา
รวมทั้งจากประสบณ์การของผู้บริหารที่เคยเป็นพนักงานของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่
เราจึงกล้าพูดได้ว่า " เราเป็นมืออาชีพเรื่องวัสดุก่อสร้าง " และยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
เราเป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย โดยตรงจากโรงงาน ทุกกลุ่ม ทุกโรงงาน ที่เป็นวัสดุหลักของงานก่อสร้าง ได้แก่
โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ , โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ , โรงงานผลิตอิฐมวลเบา ,อิฐบล็อก ,อิฐมอญ,
โรงงานผลิตเหล็กเส้นก่อสร้าง และเหล็กรูปพรรณ ฯลฯ
"ราคาต่ำจริงๆ" เรามีนนโยบายขายสินค้าส่งอย่างเดียว ไม่ขายหน้าร้าน เพราะฉะนั้นสินค้าของเราจึงมีราคาต่ำทุกตัว
ออกจากโรงงานส่งถึงหน้างานเลย จะไม่มีค่าดอกเบี้ยที่แฝงอยู่ในราคาสินค้าเพราะนำสินค้ามากองเก็บไว้เหมือนกับร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป
ลูกค้าของเราคือลูกค้าทุกกลุ่มที่ใช้งานปริมาณเยอะๆๆมีสินค้าเต็มเที่ยว 6 ล้อ 10ล้อ หรือเทเลอร์ ในรคาที่พิเสษสุดๆๆ
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า บริการของเราได้ 02 988 5559, 0890795722
หรือ idline: @TRICH
Email: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

แล้วท่านจะประทับใจในบริการของเรา