แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เสาเข็มหกเหลี่ยม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เสาเข็มหกเหลี่ยม แสดงบทความทั้งหมด

การเลือกใช้ แผ่นพื้นสำเร็จรูป

การเลือกใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป


      การเลือกใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

                                       มีลูกค้าโทรมาสอบถามราคาเราและปรึกษาเราว่าจะใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแต่ไม่รู้จะใช้แบบไหน  หนาเท่าไหร่ ลวดกี่เส้น  ทางเราก็ย้อนถามลูกค้าไปว่า จะเอาไปทำอะไร เช่น ทำบ้าน ทำอาคารพาณิชย์ คอนโด หรือโรงงานเป็นต้น โดยปกติรูปแบบของแผ่นพื้น 90 เปอร์เซ็นจะถูกกำหนดมาในแบบแล้ว ว่าใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบใด หนาเท่าไหร่ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ไม่น้อยว่าเท่าไหร่  นอกเหนือจากทางเจ้าของบ้านต่อเติมหรือทำงานโดยไม่มีแบบแปลน  วันนี้จึงอยากพาทุกท่านไปรู้จักกับชนิดของแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบต่างๆว่าแต่ละชนิดเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร


1.)    แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปท้องเรียบ

                แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบเป็นแผ่นคอนกรีตอัดแรงชนิดท้องเรียบ  รูปหน้าตัดเหมือนแผ่นกระดาน กว้าง0.35m. หนา 0.05 m.  ความยาวไม่เกิน 4.50 m. มีตั้งแต่ใช้ลวดแรงดึงสูงขนาด 4mm. อัดแรงเข้าไปในคอนกรีต มีตั้งแต่ 4 เส้นจนถึง 8เส้น แล้วแต่น้ำหนักใช้งาน ข้อกำหนดของการใช้งาน  วางเรียงชิดกันตลอดด้านท้องเรียบไม่ต้องฉาบปูนฝ้าเพดาน ทาสีทับได้เลยเมื่อเทคอนกรีตทับหน้า (Structural  Topping)แล้วจะทำงานเป็นเนื้อเดี่ยว กันกับแผ่นพื้นสำเร็จรูป
                การใช้ประโยชน์  เหมาะสำหรับงานอาคารโดยทั่วไป ทุกขนาด  เพราะการใช้พื้นสำเร็จรูปทำให้การก่อสร้างรวดเร็วและประหยัดกว่าพื้นระบบหล่อในที่  พื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ ทีริช ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับช่วงพาด ตั้งแต่สั้น 1-5 เมตร

2)     แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ลอนโค้ง

                  แผ่นพื้นสำเร็จรูปลอนโค้ง ถูกออกแบบให้มีการรับน้ำหนักเหมือนคาน ซึ่งรับน้ำหนักได้มากกว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ ทั่วไป ทำให้การทำงานไม่ต้องมีค้ำยันในขณะติดตั้ง ทำให้เกิดความปลอดภัย ประหยัดทั้งเงินและเวลาในการก่อสร้าง
                การใช้ประโยชน์ เหมากับงานประเภทที่รับน้ำหนักจรมาก (มากว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ)และพื้นที่การก่อสร้างที่ไม่สามารถค้ำยันท้องพื้นเวลาเทคอนกรีตทับหน้าได้


3เแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดมีรู    (Hollow Core Slab)


                       แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ชนิดมีรูกลวง เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรง ที่มีรูกลวง ซึ่งเหมาะสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ที่รับน้ำหนักเยอะๆๆ ความยาวมากๆ  และความกว้างและความหนา ของแผ่นพื้นก็แล้วแต่โรงงานจะผลิตตามสเปกของแบบก่อสร้างนั้น     แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบมีรูนั้นถูกผลิตด้วยด้วยระบบ Wet Concrete  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เชื่อถือได้ ในความหนาแน่นสม่ำเสมอ ทุกส่วนของเนื้อคอนกรีตและสามารถทนแรงสั่นสะเทือนได้ดี   คุณสมบัติเด่นในด้านการป้องกันเสียง และอุณหภูมิ   แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดกรวง ทำด้วยคอนกรีตอัดแรงที่มีผิวแข็งแกร่ง และมีรูกลวงขนาดใหญ่ดังนั้นช่องอากาศภายใน จึงช่วยลดการผ่านของเสียง  หรือการแพร่ หรือกระจาย ของอุณหภูมิไม่ว่าจะเป็นอุณภูมิเย็นหรือ ร้อนก็ตาม   และประโยชน์ของรูกลวงสามมารถใช้ประโยช์ในการเดินท่อสายไฟหรือใช้เป็นร่องระบายโอกาศ    


เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง กับมาตรฐาน (มอก.)

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง กับมาตรฐาน มอก.


                    มีลูกค้าหลายท่านเลยทีเดียว ที่โทรมาถามเราว่า ต้องการเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง มี มอก.
เพราะเป็นงานราชการบ้าง งานเสปกสูงบ้าง  ทางผุ้ควบคุมงานต้องการใบ มอก.บ้าง






มอก. ของเสาเข็มหกเหลี่ยม  ไม่ได้รองรับเข็มประเภทนี้


ทางเราขอเรียนว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงนั้น เป็นเข็มขนาดเล็กซึ่ง ( มอก.) หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ ได้รองรับเสาเข็มประเภทนี้เพราะเป็นเข็มเล็ก  มาตรฐานอุตสาหกรรมจะรองรับ เข็มคอนกรีตอัดแรงตั้งแต่ เข็มตัวไอ ขนาด 18x18 ซม. ขึ้นไป
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงไม่มี (มอก) แล้วจะไม่สามารถใช้ในงานราชการหรืองานที่มี ผุ้ควบคุมงาน หรืองานเสปกสูงๆ ได้ครับ มันคนละประเด็นกันเลยครับ    แต่เราก็ต้องนำไปใช้อย่างรู้หลักการ โดยต้องใช้หลักการพื้นฐานวิศวกรรมมาประกอบกับรายการคำนวนน้ำหนัก เพื่อขออนุมัติใช้งานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ชนิดของเสาเข็มหกเหลี่ยมหลวง 



เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงในท้องตลาดบ้านเราจะมีอยู่  2 แบบ

1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง  

             ซึ่งกระบวนการผลิตเหมือนกับชื่อ ว่าใช้คอนกรีตอัดแรง  ลักษณะการผลิตนั้นก็เหมือนกับการผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงทั่วๆไป แตกต่างกันที่รูปทรงของแบบหล่อเท่านั้นเอง ครับ วิธีการ นี้จะมีขั้นตอนหลายขั้นตอน จึงทำให้ ราคาของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง มีราคาสูงว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาทั่วไป

2. เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง

    โดยทั่วไป ซึ่งกระบวนการผลิตจะใช้คอนกรีตกำลังสูงเหมือนกันแต่จะไม่ดึงลวดหรืออัดแรงเข้าไปในคอนกรีต  จะใช้การประกอบเหล็กแกนและปลอกเข้าด้วยกันธรรมดา




การรับน้ำหนัก ของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง

การรับน้ำหนัก ของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง นั้น ถ้าเปรียบเทียบกับการรับน้ำหนักในแนวดิ่งนั้น รับได้เท่าๆกัน แต่การรับดัดในแนวด้านข้างเสาเข็มที่เป็นประเภทคอนกรีตอัดแรงจะแรงดัดได้ดีว่า. เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ   พิจารณารูปประกอบด้านบน

ปัญหา เสาเข็มเยื้องศูนย์

การตรวจสอบเสาเข็มกลุ่มเยื้องศูนย์

   การทำเสาเข็มไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะเราคงหลีกเลี่ยงเสาเข็มเยื้องศูนย์ไม่ได้การตรวจสอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเสาเข็มเยื้องศูนย์มีดังต่อไปนี้









1.    ตรวจสอบเสาเข็ม  ต้องคำนวณแรงปฎิกิริยาในเสาเข็มซึ่งของเดิมจะใช้ไม่ได้ แรงอัดในเสาเข็มอาจเปลี่ยนแปลงไปถ้ามีการเยื้องศูนย์ โมเมนต์ที่เกิดจากการเยื้องศูนย์อาจทำให้เสาเข็มแต่เดิมรับแรงอัดกลับกลายมาเป็นรับแรงดึง ต้องตรวจสอบ Dowel ของเสาเข็มว่ามีเพียงพอหรือไม่และตรวจสอบว่าแรงในเสาเข็มจะต้องไม่เกินน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยหรือไม่  การเยื้องศูนย์ของเสาเข็มอาจทำให้เกิดโมเมนต์ในเสาเข็มซึ่ง งานเสาเข็มตอกไม่สามารถรับโมเมนต์ได้ อาจจะต้องใส่เหล็กในเสาเข็มเพิ่มถ้าสามารถทำได้ หรือใช้วิธีกำจัดโมเมนต์ทิ้งไปโดยวิธีการตอกเสาเข็มแซมจะกล่าวต่อไป


2.   การคำนวณศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็ม   เมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ ทำให้ CG ของกลุ่มเสาเข็มเปลียนไปต้องหาตำแหน่งของจุด CG ใหม่ เพราะว่าCg จะเป็นตัวบอกว่าการเยื้องศูนย์ดังกล่าวนั้น เยื้องไปมากหรือน้อยเพี่ยงใด         ตำแหน่งจดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็มหาได้จะกล่าวในโอกาสต่อไป 

3.   การหาแรงปฎิกิริยา ในเสาเข็ม   (รายละเอียดจะกล่าวไว้ในโอกาสต่อไป)     และ  เมื่อได้แรงปปฎิริยาในเสาเข็มแต่และต้นแล้วก็สามารถทราบถึงภาระในการรับนำหนักของเข็มที่เปลี่ยนไปจากเดิมและต้องไม่เกินน้ำหนักปลอดภัยของเข็มต้นนั้นๆด้วย

4.     ตรวจสอบ เสาตอม่อ เมื่อเกิดการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มแล้ว โมเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอาจจะดัดเสาตอม่อซึ่งต้องพิจารณาด้วยว่าตอม่อเดิมเหล็กรับโมเมนต์และแรงเฉือนเพียงพอหรือไม่ 

5.      ตรวจสอบฐานราก เมื่อเสาเข็มเยื้องศูนย์ ก็จะทำให้เกิดโมเมนต์ในฐานรากเพิ่มขึ้นด้วย ต้องตรวจสอบเหล็กเสริมในฐานรากว่าเพียงพอหรือไม่





   

  แนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดการเยื้องศุนย์ระหว่างจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็มและฐานราก




1.     การตอกเสาข็มแซม  หลักของการทำเสาเข็มแซม คือ พยายามให้จุดศูนย์ถ่วงของเสาเข็มอยู่ตรงกับตำแหน่งเสาตอม่อเพื่อป้องกันการเยื้องศูนย์ของเสาเข็ม ซึ่งอาจทำให้โมเมนต์ทั้งในฐานรากและตอม่อไม่ตรงตามที่ออกแบบไว้แต่เดิม อาจจะต้องเพิ่มปริมาณของฐานรากหรือเหล็กเสริมด้วย


2.  การหมุนฐานราก เป็นวิธีที่เปลี่ยนแกนของฐานราก เสาเข็มกลุ่มใหม่จะมีจุดศูนย์ถ่วงอยู่ตำแหน่งเสาตอม่อทำให้แรงปฎิริยาในเสาเข็มไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีข้อเสียคือจะต้องใช้เสาเข็มใหม่แทนเข็มเก่าซึ่งสิ้นเปลือง

3.     การทำคานยึดรั้ง   เมื่อเกิดโมเมนต์ในฐานรากจะต้องกำจัดโมเมนต์โดยทำคานยึดรั้งหรือฐานรากร่วม ยึดไว้กับโครงสร้างด้านใน เพื่อทำลายโมเมนต์ที่เกิดขึ้น

     




จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม

วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)

สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม

ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 

ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย









ตอกเข็มให้ปลอดภัย

ความปลอดภัยในการตอกเสาเข็ม





ขอบคุณที่มา; ความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงมหาดไทย
http://www.youtube.com/watch?v=QpNTqJEI_Lw
เพื่อการศึกษาเท่านั้น



การตรวจสอบการตอกเข็มมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.      ผู้ควบคุมงานหรือวิศวกร ควรศึกษาแบบแปลนก่อสร้างให้เข้าใจ เพื่อวางแผนการตอกเสเข็มให้สามารถตอกเข็มได้อย่างต่อเนื่องและย้ายปั้นจั้นให้น้อนที่สุด2.      ศึกษารายการคำนวนเสาเข็ม Blow cout น้ำหนักของลูกตุ้ม ขนาดของเสาเข็ม ความยาวระยะยกลูกตุ้ม ให้เข้าใจเพื่อการตรวจสอบก่อนการตอกเข็ม
3.      เตรียมสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นไฟฟ้า ,น้ำประปา เส้นทางลำเลียงเสาเข็มเป็นต้น4.      ตรวจสอบความแข็งแรงและตำแหน่งของปั้นจั่นให้ตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก
5.      ตรวจสอบอายุของเสาเข็ม รอยแตกร้าวต่างๆของเสาเข็ม
6.      ตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านเมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก
7.      ระหว่างการตอกควรตรวจสอบดิ่งของเสาเข็มเป็นระยะๆ และระหว่างตอกควรสังเกตเชือกสลิงตอนที่ลูกตุ้มตกว่าหย่อนหรือป่าวเพื่อตรวจสอบระยะยกลูกตุ้ม
8.      ควรหยุดตอกเมื่อปลายเสาเข็มส่วนแรกอยู่จากระดับดินประมาณ 30 ซม. เพื่อเตรียมเชื่อมต่อความยาว
9.      ตรวจสอบรอยเชื่อมให้เคาะตะกรันเชื่อมออกให้หมด หากพบว่ารอยเชื่อมยังไม่สมบูรณ์ให้ทำการเชื่อมซ้ำให้รอยเชื่อมเสมอกับผิวของเสาเข็ม  ก่อนตอกต้นที่2 ให้ยกลูกตุ้มกระแทก 2-3 ครั้งแล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมอีกครั้งหากไม่มีข้อบกพร่องให้ตอกต่อไปจนถึงระยะนับ Blow Count
10.  เมื่อตอกเสาเข็มจนถึงระยะนับ Blow Count  ให้เริ่มนับจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเสาเข็มที่จมไปทุกๆช่วง 30 ซม.ตามที่ผู้ออกแบบกำหนด
11.  กรณีตอกเสาเข็มจนเสมอระดับดินแล้วแต่ยังไม่ผ่านการนับ Blow Count ให้ถอดหมวกครอบเข็มออกแล้วติดตั้งหัวส่งเสาเข็มเพื่อตอกเข็มต่อให้ Blow Count ตามผู้ออกแบบกำหนด
12.  ตรวจสอบ Last 10 blow เป็นการเทียบอัตราการทรุดตัวจากการตอกจำนวน10ครั้งจะกระทำซ้ำกันจำนวน 3 ครั้งตามขั้นตอนดังนี้
12.1    ในกรณีที่เสาเข็มโผล่เหนือดินการวัดระยะ 10 ครั้งสุดท้ายได้โดยตรงจากทำเส้นไว้ที่เสาเข็ม แต่ถ้าใช้หัวส่งเสาเข็มต้องใช้อุปกรณ์ช่วยวัดการทรุดตัวเช่น ท่อPVC ค้ำยันระหว่างปั้นจั่นกับพื้นดินแล้วขีดเส้นอ้างอิงก่อตอกเข็ม
12.2    ใช้ปั้นจั่นตอก 10 ครั้งแล้ววัดระยะการทรุดตัว ทำซ้ำกัน 3 รอบ การทรุดตัวที่วัดได้จะต้องไม่เกินค่าที่ผู้ออกแบบกำหนด  ถือว่าเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็มต้นนั้น

เสาเข็มเจาะเขาทำอย่างไร


เจาะแห้ง (Dry Process)




ขอบคุณ
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=pNlMWU4elK4 
เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 1 การจัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ
ปรับตั้ง 3 ขา ให้ได้แนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว ตอกหลักยึดแท่นเครื่องมือให้แน่น แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึกประมาณ 1.00 เมตร

ขั้นตอนที่ 2 การตอกปลอกเหล็กชั่วคราว
2.1 ขนาดและความยาวของปลอกเหล็กชั่วคราว
ปลอกเหล็กชั่วคราวจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ซม 43 ซม 50 ซม 60 ซม เสาเข็มเจาะซึ่งแต่ละท่อนจะมีความยาวประมาณ 1.00 เมตร ต่อกันด้วยระบบเกลียวในการทำงานจะตอกปลอกเหล็กผ่านชั้นดินอ่อน ซึ่งอยู่ด้านบนจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง เพื่อป้องกันการเคลื่อนพังของผนังรูเจาะในขั้นดินอ่อนและป้องกันน้ำ
ใต้ดินไม่ให้ไหลซึมเข้าในรูเจาะอันจะเป็นผลให้คุณภาพของคอนกรีตไม่ดีเท่าที่ควร
2.2 การควบคุมตำแหน่งให้ถูกต้องและอยู่ในแนวดิ่ง
ในการทำงาน การตอกปลอกเหล็กชั่วคราวลงไปแต่ละท่อนจะมีการตรวจสอบตำแหน่งศูนย์กลางของเข็มและแนวดิ่งอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องงกันมิให้เข็มเจาะเอียง

ขั้นตอนที่ 3 การเจาะ
3.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะ
ในช่วงดินอ่อนจะใช้กระเช้าชนิดมีลิ้นที่ปลายเก็บดินโดยใช้น้ำหนักของตัวมันเอง เมื่อกระเช้าถูกทิ้งไปในรูเจาะดินจะถูกอัดให้เข้าใปอยู่ในกระเช้าและจะไม่หลุดออกเพราะมีลิ้นกั้นอยู่ในเวลายกขึ้นมา ทำซ้ำกันเรื่อย ๆ จนดินถูกอัดเต็มกระเช้าจึงนำมาเทออก การเจาะจะดำเนินไปจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง จึงเปลี่ยนมาใช้กระเช้าชนิดไม่มีลิ้นที่ปลายเก็บต่อไปจนได้ความลึกที่ต้องการ
3.2 การตรวจสอบการเคลื่อนพังของดินในขั้นที่ไม่มีปลอกเหล็กชั่วคราว
ในระหว่างการเจาะเอาดินขึ้น จะหมั่นตรวจสอบว่าผนังดินพังหรือยุบเข้าหรือไม่ โดยดูจากชนิดของดินซึ่งเก็บขึ้นมาควรจะต้องสอดคล้องกับความลึกและคล้ายคลึงกับเข็มตันแรก ๆ ถ้าตรวจพบว่าดินเกิดจากการเคลื่อนพังจะรีบแก้ไขในทันทีโดยตอกปลอกเหล็กชั่วคราวให้ลึกลงไปอีก

ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบรูเจาะก่อนใส่เหล็กเสริม
4.1 การวัดความลึก
โดยวัดจากความยาวของสายสลิงรวมกับความยาวของกระเช้าตักดิน
4.2 การตรวจสอบก้นหลุม
ใช้สปอร์ตไล้ท์ส่องดูก้นหลุมว่ามีการยุบเข้ามีน้ำซึมหรือไม่ ถ้ามีน้ำซึมที่บริเวณก้นหลุมจะเทคอนกรีตแห้งลงไปประมาณ 50 ซม. และกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก จากนั้นใช้ปูนทราย 1:1.5 เทลงไปประมาณ 30-50 ซม. ก่อนใส่เหล็ก

ขั้นตอนที่ 5 ใส่เหล็กเสริม
5.1 ชนิดของเหล็กเสริม
ส่วนเหล็กเส้นกลมตาม มอก. 20-2524( SR-24 ) ส่วนเหล็กเส้นข้ออ้อยตาม มอก.24-2524 ( SD-30 )
5.2 ขนาดและปริมาณเหล็กเสริม
การต่อเหล็กใช้วิธีต่อทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางและใช้ลวดผูกเหล็กผูกบิดแน่น
5.3 การใส่เหล็กเสริม
หย่อนกรงเหล็กให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะจนถึงระดับที่ต้องการ และยึดให้แน่นหนาเพื่อที่ขณะเทคอนกรีตกรงเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

ขั้นตอนที่ 6 การเทคอนกรีต

6.1 ชนิดของคอนกรีต
คอนกรีตที่ใช้เป็นคอนกรีตผสมหน้างาน หรือคอนกรีตผสมเสร็จ ( READY MIX ) มีกำลังอัดประลัยที่ 28 วัน เมื่อทดสอบโดยแท่งทรงกระบอกขนาด 15 x 30 ซม. ( cylinder ) ไม่น้อยกว่า 210 กก/ซม3 ซีเมนต์ที่ใช้เป็นซีเมนต์ปอร์มแลนด์ ประเภท 1 และใช้ความยุบของคอนกรีตประมาณ 8-12 ซม. เพื่อให้คอนกรีตเกิดการอัดแน่นด้วยตัวเองเมื่อเทลงรูเจาะไปแล้ว
6.2 วิธีเทคอนกรีต

เมื่อรูเจาะได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เทคอนกรีตได้ จะรีบทำการเทคอนกรีตทันทีเพื่อไม่ให้รูเจาะอ่อนตัวหรือกระทบความชื้นในอากาศนานเกินไปจนสูญเสียแรงเฉือนได้ การเทคอนกรีตจะเทผ่านกรวย ปลายกรวยเป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. ยาว 3.0 เมตร คอนกรีตจะหล่นลงตรง ๆ โดยไม่ปะทะผนังรูเจาะหรือกรงเหล็กจะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีต
6.3 วิธีทำให้คอนกรีตแน่นมากขึ้น

เมื่อทำการเทคอนกรีตถึงระดับ -5.00 ถึง -3.00 จากระดับดินปัจจุบันจะทำการอัดลมเพื่อให้คอนกรีตอัดตัวแน่นมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 7 การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว
จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราวพอสมควร จึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว
ทำให้ขนาดเสาเข็มเจาะเปลี่ยนไปและเป็นการป้องกันมิให้น้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด จะต้องเติมคอนกรีตให้มีประมาณเพียงพอและเผื่อคอนกรีตให้สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ 30-75 ซม. ในกรณีที่หัวเสาเข็มอยู่ต่ำจากระดับดินปัจจุบัน เพื่อป้องกันมิให้หัวเข็มที่ระดับที่ต้องการสกปรกเนื่องจากวัสดุหรือเศษดินร่วงหล่นลงไป ภายหลังการถอดปลอกเหล็กออกหมดแล้ว

ขั้นตอนที่ 8 การบันทึกรายงานการจัดทำเสาเข็ม

บันทึก ณ ที่สนง. ก่อสร้างที่ปฏิบัติงานเสาเข็ม
8.1 หมายเลขกำกับเสาเข็ม
8.2 วันที่เจาะ เวลาเริ่มเจาะ เวลาแล้วเสร็จในการเจาะ เวลาเริ่มเทคอนกรีต เวลาถอนท่อเหล็กชั่วคราวจนแล้วเสร็จ
8.3 ระดับดิน ระดับตัดหัวเข็ม ระดับความลึกปลายเสาเข็ม ความยาวของท่อเหล็ก ปลอกชั่วคราว
8.4 ความคลาดเคลื่อนของศูนย์เข็ม และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
8.5 รายละเอียดของชั้นดิน
8.6รายละเอียดเหล็กเสริมในเสาเข็ม และปริมาณคอนกรีต
8.7 อุปสรรที่เกิดขึ้น หรือเหตุผิดปกติต่าง ๆ
8.8 ค่าวินิจฉัย สั่งการ ของเจ้าหน้าที่อาคาร , วิศวกรผู้ออกแบบ , ผู้ควบคุมงานของเสาเข็มต้นนั้น ๆ







ผลิตและจำหน่ายเสาเข็มและแผ่นพื้นสำเร็จรูป


เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ และผลงานขายของเราได้ที่
ผลิตภัณฑ์ แผ่นพื้นสำเร็จรูปและเสาเข็มอัดแรง

http://www.trichgroup.com/
ผลิตภัณฑ์ อิฐมวลเบา
http://xn--12cf9azas5bpor1d4cbbs0g2e.blogspot.com/
ผลิตภัณฑ์ ปูนซีเมนต์
http://xn--12cfu4bgobn0dwa9nb6a5cl7hsj.blogspot.com/

"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"
บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด จากประสบการณ์ การทำงานก่อสร้างให้ลูกค้ามาเป็นเวลา 10 ปีเราเข้าใจดี
อะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ โครงการก่อสร้างของท่านประสบณ์ความสำเร็จ ท่านคงปฎิเสธไม่ได้ว่า"ต้นทุนที่ต่ำเท่าไหร่ ผลกำไรก็มากเท่านั้น"
อีกอย่างบริษัทของเรามีโรงงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีต ซึ่งทำให้เรามีสินค้าที่สามารถรองรับบความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา
รวมทั้งจากประสบณ์การของผู้บริหารที่เคยเป็นพนักงานของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่
เราจึงกล้าพูดได้ว่า " เราเป็นมืออาชีพเรื่องวัสดุก่อสร้าง " และยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
เราเป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย โดยตรงจากโรงงาน ทุกกลุ่ม ทุกโรงงาน ที่เป็นวัสดุหลักของงานก่อสร้าง ได้แก่
โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ , โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ , โรงงานผลิตอิฐมวลเบา ,อิฐบล็อก ,อิฐมอญ,
โรงงานผลิตเหล็กเส้นก่อสร้าง และเหล็กรูปพรรณ ฯลฯ
"ราคาต่ำจริงๆ" เรามีนนโยบายขายสินค้าส่งอย่างเดียว ไม่ขายหน้าร้าน เพราะฉะนั้นสินค้าของเราจึงมีราคาต่ำทุกตัว
ออกจากโรงงานส่งถึงหน้างานเลย จะไม่มีค่าดอกเบี้ยที่แฝงอยู่ในราคาสินค้าเพราะนำสินค้ามากองเก็บไว้เหมือนกับร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป
ลูกค้าของเราคือลูกค้าทุกกลุ่มที่ใช้งานปริมาณเยอะๆๆมีสินค้าเต็มเที่ยว 6 ล้อ 10ล้อ หรือเทเลอร์ ในรคาที่พิเสษสุดๆๆ
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า บริการของเราได้ 02 988 5559, 0890795722
หรือ idline: @TRICH
Email: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

แล้วท่านจะประทับใจในบริการของเรา