แผ่นพื้นสำเร็จรูป กับความยาวแผ่น

แผ่นพื้นสำเร็จรูป   กับความยาวแผ่นยาวแผ่น

แผ่นพื้นสำเร็จรูป (Solid Plank) ของเราสามารถผลิต แผ่นพื้นสำเร็จรูป ที่มีความยาว ไม่เกิน 4.90 ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับ น้ำหนักจรที่ลูกค้าต้องการด้วยครับความยาวของ แผ่นพื้นสำเร็จรูป นั้นจะมีผลโดยตรงต่อการรับน้ำหนัก  ถ้าแผ่นพื้นสำเร็จรูปแผ่นสั้นๆก็จะสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม แผ่นพื้นสำเร็จรูป ที่มีแผ่นยาวๆก็จะสามารถ รับน้ำหนักได้น้อยลง
มีคำถามจากลูกค้ามาตลอดว่าจะใช้ แผ่นพื้นสำเร็จรูป แบบไหน ใช้ลวดกี่เส้น เรียนลูกค้าว่าเวลาสั่งซื้อแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น เสปกจะถูกกำหนดจากผู้ออกแบบโครงสร้าง
ถ้าไม่แน่ใจ ทางทีมงานเรารับให้ทำปรึกษาฟรี ......ขอบคุณครับ

เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ ของเราได้ที่
http://trichgroup.com

https://www.facebook.com/solid.plank/


ขอบคุณ คุณเอ้ โครงการหอพัก ซอยหลวงแพ่ง 2มากๆ ที่เลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป จากโรงงานของเรา






เสาเข็มเจาะเปียก


ขั้นตอนการทำเข็มเจาะ (Bore Piles) สำหรับอาคารขนาดใหญ่
 1. เจาะเปียก (Wet Process)


ขั้นตอนที่ 1 ให้ใส่ปลอกเหล็ก WET PROCESS
1.1 ให้ใส่ปลอกเหล็ก ( STELL CASING ) เพื่อป้องกันดินส่วนบนพัง ยาวไม่น้อยกว่า 14.00 ม. และปลายปลอกเหล็กจะต้องลึกเลยชั้น SOFT CLAY ในช่วงความยาวภายในปลอกเหล็กนี้จะขุดโดยไม่เติม DRILLING LIQUID ลงในหลุมก็ได้ เนื่องจากมีปลอกเหล็กป้องกันดินพังติดตั้งอยู่แล้ว เมื่อขุดเลยระดับใต้ปลอกถ้ามีน้ำไหลเข้ามาในปลอกจะต้องใส่ LIQUID โดยใช้ BENTONITE เพื่อทำหน้าที่ต้านแรงดันภายในหลุมที่จะทำให้เกิดการพังทลายได้
1.2 เมื่อทำการเจาะจนถึงระดับที่ต้องการแล้ว ก่อนการติดตั้งเหล็กเสริมจะต้องตรวจสอบความดิ่งและการพังทลายของหลุมเจาะด้วยวิธี หรือเครื่องมือที่เหมาะสมหากทราบว่ามีการพังทลายเกิดขึ้นจะต้องชักโครงเหล็กขึ้นมาทำการแก้ไขให้เรียบร้อย จึงลงโครงเหล็กเสริมใหม่
1.3 เมื่อวางโครงเหล็กเสริม และตรวจสอบกับรูเจาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการเทคอนกรีตได้ BENTONITE SLURRY โดยใช้ท่อ TREMIE PIPE ที่มีขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในหลุมเข็มเจาะจนเกือบถึงก้นหลุม โดยให้ปลายท่อห่างกับหลุมเพียงเล็กน้อย โดยมี PLUG อยู่ในท่อ ลอยอยู่เหนือ SLURRY PLUG อาจใช้ลูกบอลยาง โฟม หรือ สารชนิดอื่น ๆ ที่วิศวกรผู้ออกแบบเห็นชอบแล้ว TREMIE PIPE จะต้องฝังอยู่ในคอนกรีตประมาณ 2.00 ม. ซึ่งอาจน้อยกว่าได้ตามสภาพความเหมาะสมแต่ในขณะดัดต่อท่อ TREMIE ท่อต้องจมอยู่ในเนื้อคอนกรีตประมาณ 3-5 ม. ขณะเทคอนกรีตต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคอนกรีตที่เท เทียบกับปริมาณตามแบบไว้ทุกระยะการเทในขณะเทคอนกรีตท่อ TREMIE PIPE จะหลุดจากคอนกรีตที่เทแล้วในหลุมเจาะไม่ได้
1.4 ให้หล่อคอนกรีตหัวเสาเข็ม สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ1.20-1.50
1.5 เมื่อเทคอนกรีตจนได้ระดับแล้ว จึงทำการถอนปลอกขึ้นได้
1.6 หากวิธีการเจาะหรือตรวจสอบใด ๆ ที่มิได้กล่าวไว้แล้วก็ตาม หากระหว่างการทำงาน ผู้รับจ้างเห็นว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมใด ๆ เพื่อให้งานที่คุณภาพดีขึ้น ผู้รับจ้างจะต้องเสนอต่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เพื่อให้ความเห็นชอบ
1.7 BENTONITE SLURRY
- BENTONITE SLURRY ที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติ
ก. ค่า PH ไม่ต่ำกว่า 7 ทดสอบโดยวิธี PH indicator paper atripa
ข. DENSITY อยู่ระหว่าง 1.05 - 1.2 ตัน/ลบ.ม. และปริมาณที่ใช้ผสม 2-6%
ค. VISCOSITY อยู่ระหว่าง 3090 SEC> ( MARCH`CONE TEST )
ง. SAND CONTENT ไม่เกิน 6% ทดสอบโดย NO. 200 Seive H.S.MESH ค่าเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจการจ้างในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เห็นว่า BENTONITE นั้นสกปรกหรือมีคุณสมบัติต่าง ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงานมีสิทธิ์ที่จะห้ามใช้ BENTONITE SLURRY นั้นได้
จ. จะต้องทดสอบคุณสมบัติเหล่านี้ จาก BENTONITE SLURRY ในหลุมเจาะจริงด้วย

 ขั้นตอนที่ 2 ข้อกำหนดของคอนกรีต

2.1 คอนกรีตที่ใช้ทำเสาเข็มเจาะ จะต้องมีกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมาตรฐาน รูปทรงลูกบาศ์ก ( CUBE ) 0.15x0.15x0.15 เมื่อมีอายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า280 KSC. โดยมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 15-20 ซม. ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ประเภทที่ 1
2.2 คอนกรีตที่ใช้งานเสาเข็มเจาะ ต้องมีเวลาการก่อตัวไม่น้อยกว่า 5 ซม. และต้องเหมาะสมกับระยะเวลาการเทคอนกรีต
2.3 ผู้รับจ้างงานเสาเข็มเจาะ ต้องเสนอ MIX DESIGN ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาอนุมัติ การเสนอ จะต้องส่งผลการทดสอบกำลังอัดมาด้วย อย่างไรก็ตามความรับผิดชอบในเรื่องคุณภาพ คุณสมบัติของคอนกรีตที่เทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง
2.4 การเก็บตัวอย่างแท่งคอนกรีตของเสาเข็มเจาะ 1 ตัน เก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่า 3 ชุด ชุดละ 3 แท่ง และค่าใช้จ่ายในการเก็บตัวอย่าง การทดสอบ ผู้รับจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด


ขั้นตอนที่ 3 ข้อกำหนดของการเสริมเหล็กในเสาเข็มเจาะ

เหล็กยืน ให้เสริมขนาดตั้งแต่ 12 มม. ขึ้นไปให้ใช้เหล็กข้ออ้อย SD-40 ตามมาตรฐาน มอก. และมีปริมาณไม่น้อยกว่า 0.5% ขอยหน้าตัดเสาเข็ม
เหล็กปลอกให้เสริมขนาด 9 มม. ระยะ 0.30 ม.ให้ใช้เหล็กกลม SR-24 ตามมาตรฐาน มอก.

 ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะ โดยการทำ จะต้องทดสอบตามมาตรฐาน



ขั้นตอนที่ 5 การบันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะ
รายละเอียดดังนี้
5.1 วัน เดือน ปี าที่ทำการเจาะและเทคอนกรีตของเสาเข็ม
5.2 หมายเลขกำหนดตำแหน่งเสาเข็มเจาะ
5.3 ระดับดินเดินก่อนทำการเจาะ
5.4 ระดับปลายเสาเข็ม
5.5 ระดับหัวเสาเข็ม
5.6 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวเสาเข็มเจาะ
5.7 รายละเอียดเหล็กเสริมเสาเข็มเจาะ
5.8 ความคลาดเคลื่อนของศูนย์และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
5.9 รายละเอียดของชั้นดิน จะต้องเก็บตัวอย่างของชั้นดิน ณ จุดที่ทำเสาเข็มส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบ และจะต้องจัดทำรายการของชั้นดินที่ผิดแปลกไปส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบทราบทันที
5.10 รายละเอียด อุปสรรคที่เกิดขึ้นหรือเหตุผิดปกติต่างๆจะต้องแก้ไขให้สำเร็จถูกต้องตามหลักวิชาการ

ที่มา : http://www.pramuanmongkol.com



จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย








ตอกเข็ม เขาทำกันอย่างไร


การตรวจสอบงานเสาเข็มตอก









การตรวจสอบการตอกเข็มมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.      ผู้ควบคุมงานหรือวิศวกร ควรศึกษาแบบแปลนก่อสร้างให้เข้าใจ เพื่อวางแผนการตอกเสเข็มให้สามารถตอกเข็มได้อย่างต่อเนื่องและย้ายปั้นจั้นให้น้อนที่สุด2.      ศึกษารายการคำนวนเสาเข็ม Blow cout น้ำหนักของลูกตุ้ม ขนาดของเสาเข็ม ความยาวระยะยกลูกตุ้ม ให้เข้าใจเพื่อการตรวจสอบก่อนการตอกเข็ม
3.      เตรียมสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นไฟฟ้า ,น้ำประปา เส้นทางลำเลียงเสาเข็มเป็นต้น4.      ตรวจสอบความแข็งแรงและตำแหน่งของปั้นจั่นให้ตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก
5.      ตรวจสอบอายุของเสาเข็ม รอยแตกร้าวต่างๆของเสาเข็ม
6.      ตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านเมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก
7.      ระหว่างการตอกควรตรวจสอบดิ่งของเสาเข็มเป็นระยะๆ และระหว่างตอกควรสังเกตเชือกสลิงตอนที่ลูกตุ้มตกว่าหย่อนหรือป่าวเพื่อตรวจสอบระยะยกลูกตุ้ม
8.      ควรหยุดตอกเมื่อปลายเสาเข็มส่วนแรกอยู่จากระดับดินประมาณ 30 ซม. เพื่อเตรียมเชื่อมต่อความยาว
9.      ตรวจสอบรอยเชื่อมให้เคาะตะกรันเชื่อมออกให้หมด หากพบว่ารอยเชื่อมยังไม่สมบูรณ์ให้ทำการเชื่อมซ้ำให้รอยเชื่อมเสมอกับผิวของเสาเข็ม  ก่อนตอกต้นที่2 ให้ยกลูกตุ้มกระแทก 2-3 ครั้งแล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมอีกครั้งหากไม่มีข้อบกพร่องให้ตอกต่อไปจนถึงระยะนับ Blow Count
10.  เมื่อตอกเสาเข็มจนถึงระยะนับ Blow Count  ให้เริ่มนับจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเสาเข็มที่จมไปทุกๆช่วง 30 ซม.ตามที่ผู้ออกแบบกำหนด
11.  กรณีตอกเสาเข็มจนเสมอระดับดินแล้วแต่ยังไม่ผ่านการนับ Blow Count ให้ถอดหมวกครอบเข็มออกแล้วติดตั้งหัวส่งเสาเข็มเพื่อตอกเข็มต่อให้ Blow Count ตามผู้ออกแบบกำหนด
12.  ตรวจสอบ Last 10 blow เป็นการเทียบอัตราการทรุดตัวจากการตอกจำนวน10ครั้งจะกระทำซ้ำกันจำนวน 3 ครั้งตามขั้นตอนดังนี้
12.1    ในกรณีที่เสาเข็มโผล่เหนือดินการวัดระยะ 10 ครั้งสุดท้ายได้โดยตรงจากทำเส้นไว้ที่เสาเข็ม แต่ถ้าใช้หัวส่งเสาเข็มต้องใช้อุปกรณ์ช่วยวัดการทรุดตัวเช่น ท่อPVC ค้ำยันระหว่างปั้นจั่นกับพื้นดินแล้วขีดเส้นอ้างอิงก่อตอกเข็ม
12.2    ใช้ปั้นจั่นตอก 10 ครั้งแล้ววัดระยะการทรุดตัว ทำซ้ำกัน 3 รอบ การทรุดตัวที่วัดได้จะต้องไม่เกินค่าที่ผู้ออกแบบกำหนด  ถือว่าเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็มต้นนั้น 



............................................................................................................

จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย










อิฐมวลเบา คืออะไร

อิฐมวลเบา คืออะไร

อิฐมวลเบา

อิฐมวลเบา มีมากมายหลายประเภท หากมองเพียงภายนอกอาจแทบไม่แตกต่างกันแต่แท้จริงแล้ว อิฐมวลเบาแต่ละแบบใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตต่างกัน
ทำให้คุณสมบัติของอิฐมวลเบาแตกต่างกัน ราคาก็แตกต่างกันไปด้วย อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Non – Autoclaved System)

ซึ่งจะแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ใช้วัสดุเบากว่ามาทดแทน เช่น ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อย หรือเม็ดโฟม ทำให้คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบาขึ้น แต่จะมีอายุการใช้งานที่สั้นเสื่อมสภาพได้เร็ว และหากเกิดไฟไหม้ สารเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อผู้อยู่อาศัย
ประเภทที 2 ใช้สารเคมี (Circular Lightweight Concrete)
 เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้แข็งตัวคอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรงคอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้ส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเป็นสีปูนซีเมนต์ ต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงซึ่งจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นผลึกสีขาว

2. ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System)
ซึ่งแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 Lime Base ใช้ปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
ทำให้คุณภาพคอนกรีตที่ได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำมากกว่า


ประเภทที่ 2 Cement Base ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
เป็นระบบที่นอกจากจะช่วยให้คอนกรีต มีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate)ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง ทนทาน กว่าการผลิตในระบบอื่นมาก



คุณสมบัติของอิฐมวลเบา

อิฐมวลเบา เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตชนิดใหม่ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติได้แก่
ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิบซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศส่วนผสมพิเศษ
ในอัตราส่วนที่เป็นสูตรเฉพาะตัว การผลิตส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่าง
 ประเทศอาทิเช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย ฯ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุดจากการนำไปใช้งานทุกด้าน ด้วยคุณสมบัติพิเศษ คือ ตัววัสดุมีน้ำหนักเบา ขนาดก้อนได้มาตรฐานเท่ากันทุกก้อนทนไฟ ป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง ตัดแต่งเข้ารูปง่าย ใช้งานได้เกือบ 100% ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก และที่สำคัญคือรวดเร็ว สะอาด ลดระยะเวลาในการก่อสร้างและลดต้นทุนโครงสร้างและมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ดังนี้

1. คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนา 7.5, 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120 กิโลกรัมในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น

2. การกันความร้อน หากเป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไปจึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่าแต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร

3. การกันเสียง ปกติอิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่าเนื่องจากโครงสร้างของอิฐมวลเบามีฟองอากาศเป็นจำนวนมากอยู่ภายในทำให้ดูดซับ เสียงได้ดี จึงเหมาะสำหรับห้องหรืออาคารที่ต้องการความเงียบ เช่น โรงภาพยนตร์หรือห้องประชุม

4. การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อยและทนไฟที่ 1,100 องศาเซลเซียส ได้นานกว่า 4 ชั่วโมงซึ่งนานกว่าอิฐมอญ 2-4 เท่า ทำให้จะช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้

5. ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน

6.น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี น้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ 2-3 เท่า และเบากว่าคอนกรีต 4-5 เท่า
 ส่งผลให้ประหยัดค่าก่อสร้างโครงสร้างอาคาร และเสาเข็มลงได้อย่างมาก แต่อาคารยังคงมีความแข็งแรงเท่าเดิมจากโครงสร้างของอิฐมวลเบาที่ประกอบไปด้วยฟองอากาศจำนวนมากทำให้มีน้ำหนักเบาและสามารรับแรงกดได้ดี

 ซึ่งจากคุณสมบัติข้อนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถประหยัดต้นทุนในการ ก่อสร้างได้มาก ยกตัวอย่างเช่น
ไม่ต้องลงเสาเข็มลึกมากเนื่องจากโครงสร้างเบาและสามารถ ก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างที่เล็กลง
 ทำให้ประหยัดการใช้เหล็กและมีพื้นที่ใช้สอยภายในมากขึ้น

7. ประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญแล้วยังใช้เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กลงได้ ช่วยประหยัดค่าไฟไปได้มาก กันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญถึง 4-8 เท่า จึงช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก สู่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30%

8. ใช้งานง่าย และรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตที่เป็นมาตรฐานทำให้สินค้าที่ออกมาเท่ากันทุกก้อน
 ไม่เหมือนกับอิฐมอญที่ยังมีความไม่เป็นมาตรฐานอยู่ทำให้การก่อสร้างโดยใช้อิฐมวลเบาจะ
ใช้เวลาในการก่อและเกิดการสูญเสียน้อยกว่า โดยเฉลี่ยแล้วภายใน 1 วันการก่อผนังโดยใช้อิฐมวลเบาจะได้พื้นที่ 25 ตรม  ไม่ต้องอาศัยความชำนาญของช่าง สามารถตัด แต่ง เลื่อย ไส เจาะ ฝังท่อระบบได้โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่ใช้งานง่าย  และหาซื้อได้ทั่วไป. ขณะที่หากใช้อิฐมอญจะก่อได้เพียง 12 ตรม. นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดวัสดุอื่นๆ เช่น ปูนฉาบด้วย เนื่องจากสามารถก่อฉาบได้บางกว่าช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้

9.มิติเที่ยงตรง ขนาดมิติเที่ยงตรง แน่นอน ได้ชิ้นงานที่เรียบ สวยงาม มีหลายขนาดให้เลือก ประหยัดวัสดุ และ แรงงานในการก่อ ฉาบ

10. อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต (50 ปี) เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่
ปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม สารกระจายฟองและเหล็กเส้น จึงมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า อิฐมอญซึ่งส่วนผสมส่วนใหญ่ คือ ดิน



บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
จัดทำบทความโดย:www.trichgroup.com
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ; www.trichgroup.com
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

..................................................................................................................................................



ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทต่างๆ

ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างและงานหล่อผลิตภัณฑ์คอนกรีต
          มาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ของไทย คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนต์ หรือ มอก.15 
เล่ม1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ  ได้แบ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็น  5  ประเภทด้วยกัน ได้แก่


1. ประเภท 1 :   ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา   เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย เป็นปูนซีเมนต์  ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ทำคอนกรีต หรือทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการคุณภาพพิเศษ  เหมาะสำหรับงานคอนกรีตทั่วไปเช่นงานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, พื้นอาคาร, ถนน, สะพาน,ถังกังเก็บน้ำ, อ่างเก็บน้ำ, ท่อน้ำ ,และผลิตภัรฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปเป็นต้นนอกจากนี้ ยังเหมาะสมกับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น สะพานขนาดใหญ่ และอาคารสูงเป็นต้น
รูปภาพ การก่อสร้างต่างๆ

 ปูนซีเมนต์





2.  ประเภท 2 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง  ทนซัลเฟตได้ปานกลาง หรือเกิดจากความร้อนจากการทำปฎิกิริยาไฮเดชั่น ปานกลาง เป็นปูนซีเมนต์ที่เกิดความร้อนน้อยกว่าประเภท 1 และทนซัลเฟตปานกลางได้  เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับดินหรือที่มีความเข้มข้นของซัลเฟตสูงกว่าปกติแต่ไม่ถึงระดับรุนแรง   สามารถทนซัลเฟสได้เพราะมีไตรคัลเซียมอลูมิเนต ในซีเมนต์ ไม่เกิน8%    ถ้ามีปริมาณซัลเฟตสูงๆเช่นงานก่อสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง ป็นต้น ควรใช้ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ประเภท 5 มากกว่า เพราะมี C3A ต่ำกว่า       ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วน
น้ำต่อวัสดุประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้น (ลดการซึมผ่าน) และสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้
                  นอกจากนี้ ยังใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ในโครงสร้างที่มีความหนามาก เช่นต่อม่อขนาดใหญ่  ฐานรากขนาดใหญ่ หรือกำแพงกันดินที่หนามากๆ  เพราะเป็นปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนจากปฎิกิริยาไฮเดชั่น ในระดับปานกลาง และอัตราการเกิดความร้อนจะช้ากว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 จึงสามารถลดโอกาศเกิดการแตกร้าวเนื่องจากความร้อนได้ 







  3.  ประเภท 3 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูง(High Strength portland cement )
              ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ให้กำลังอัดสูงในช่วงแรกๆ เพราะปูนซีเมนต์ มีความละเอียดมากกว่่า
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1    เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วหรือถอดแบบในระยะเวลาอันสั้นมักใช้ในงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปชนิดต่างๆ  แผ่นพื้น อัดแรง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาและงานสำเร็จรุปสำหรับงานอาคาร และหมอนรางรถไฟ  เป็นต้น   ไม่ควรใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ในงานโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ เพราะความร้อนจากปฎิกิริยา ไฮเดชั่น จะเกิดสูงมากในช่วงต้น อาจทำให้โครงสร้างเกิดการแตกร้าวได้






 4.  ประเภท 4 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low heat portland Cement)
                 เป็นปูนซีเมนต์ที่ให้ปริมาณและอัตราความร้อนจากปฎิกริยาไฮเดชั่นต่ำ โดยเกิดความร้อน
น้อยกว่าปูนซีเมนต์ประเภท 2 และมีการพัฒนากำลังช้ากว่าปูนซีเมนต์ประเภท อื่นๆ  เหมะสำหรับงานคอนกรีตหลา (Mass Concrete ) เช่นเขื่อนเป็นต้น เนื่องจากทำให้อุณหภูมิของคอนกรีตขณะก่อตัวต่่ำว่าปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ซึ่งเป็นการลดปัญหาการเสี่ยงเกิดรอยแตกร้าว เนื่องจากความร้อน 
              ประเทศไทยไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ปัจจุบันมีการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1 ผสมกับสารปอซโซลาน เช่่น เถ้าลอย (Fly Ash ) เพื่อช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นได้  


5.  ประเภท 5 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตสูง   ปูนซีเมนต์ประเภทนี้มีค่า C3A ไม่เกิน 5% เพื่อป้องกันไม่ให้ซัลเฟตจากภายนอกเข้ามาทำลายเนื้อคอนกรีตและให้กำลังช้ากว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1    เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับเกลือซัลเฟตอย่างรุนแรง จากดินหรือน้ำที่มีซัลเฟตสุง เช่นงานก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง  หรือโครงสร้างใต้ดินเป็นต้น    ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุเชื่อมประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้นและสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้  แต่ไม่สามารถต้านทานต่อกรดและสารที่มีฤทธิกัดกร่อนอย่างรุนแรงได้ เช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ประเภทอื่น ๆ







6. ประเภท 1A ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ ประเภทกระจายกักฟองอากาศ ,ปูนซีเมนต์ประเภท 2A และปูนซีเมนต์ประเภท 3A จะไม่ขอกล่าวไว้ในที่นี้ 



บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น 
ขอบคุณเอกสารวิชาการ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม 2547 
จัดทำบทความโดย: www.trichgroup.com 
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;www.trichgroup.com
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

...........................................................................................................................................................

ปูนซีเมนต์ กับ วัสดุที่ใช้ในงานก่อ

วัสดุที่ใช้ในงานก่อ
1. ปูนซีเมนต์
           ประเภทของปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานก่อโดยทั่วไป คือ ปูนซีเมนต์ผสม เช่น ปูนซีเมนต์ผสมทีพีไอ ปูนซีเมนต์ผสมตราลูกโลก
เขียวเป็นต้น เป็นปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนผสมหรือ มอก. 80 แต่ไม่นิยมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทำปูนก่อ เนื่องจากมีระยะเวลาแห้งตัว (Settting Time ) ที่เร็วเกินไป คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ที่ดีสำหรับงานก่อ จะต้องมีความเหนียวนุ่ม เวลาปั้นจะจับตัวเป็นก้อนไม่แห้งแตก ยึดเกาะก้อนอิฐได้ดี แต่ไม่เหนียวติดเกรียง
ไม่ร่วงหล่นในขณะที่เคาะอิฐให้ได้ระดับ หรือยุบตัวได้ง่าย  มีระยะของการแห้งตัวที่พอเหมาะ มีการหดตัวน้อย จึงลดการแตกร้าวได้
            ปูนซีเมนต์ผสมโดยทั่วไป มีน้ำหนักถุงละ 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 3-4 ตรม.   ปูนซีเมนต์ที่ดีนอกจากผลิตจากบริษัทที่ได้มาตรฐานแล้วคุณภาพของปูนซีเมนต์ขณะนำมาใช้งานต้องอยู่ในสภาพที่ดีด้วย เนื่องจากปูนซีเมนต์มีอายุการของเก็บ  ปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้นาน เมื่อถูกความชื้นคุณภาพจะลดลง บางส่วนอาจจับตัวเป็นเม็ด  การนำมาใช้ต้องนำส่วนที่เป็นเม็ดออกเสียก่อน หรือถ้าชื้นมากจนแข็งเป็นก้อนบี้ไม่แตกก็ไม่ควรนำมาใช้   ดังนั้นการจัดเก็บปูนซีเมนต์ควรเก็บให้โดนความชื้นน้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ปูนจับตัวเป็นก้อนก่อนนำมาใช้งาน


 ปูนซีเมนต์


2. ทราย
       ทรายที่นำมาใช้ในงานก่อคือทรายหยาบ ซึ่งควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตาม มอก. 598 คือ ควรเป็นทรายน้ำจืดที่มีขนาดลดผ่านตะแกรงร่อนขนาด
4.75 มม. โดยการนำมาร่อนเอากรวดเม็ดใหญ่ๆออกก่อน มีลักษณะแข็ง แน่น ทนทาน เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม  เม็ดทรายที่เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม จะช่วย
เพิ่มการยึดเกาะและทำให้ได้กำลังดีกว่าไม่ควรมีลักาณะแบน หรือยาว หรือพรุน ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขนาดของเม็ดทรายควรมีขนาดคละกัน
สะอาดไม่ผุกร่อนหรือมีวัชพืชปน
             การเลือกทรายที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมสำหรับงานก่อ  เช่นการใช้ทรายที่มีความละเอียดมาก จะทำให้ต้องใช้น้ำมากเพระทรายละเอียดมีพื้นที่ผิวมากกว่า
ผลที่ตามมาคือ ปูนก่อจะหดตัวมาก และอาจเกิดการแตกร้าวได้ นอกจากนี้ปูนก่อที่ใช้ทรายละเอียดยังต้องใช้ปูนซีเมนต์มากขึ้นเพื่อให้กำลังเท่าเดิม จึงไม่ประหยัด
หรือกรณีที่ใช้ทรายสกปรกมากเกินไป ทำให้เนื้อปูนซีเมนต์ยึดเกาะเม็ดทรายไม่ดีเท่าที่ควร และส่วนผสมปูนก่อมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นทำให้ปูนก่อมีความแข็งแรงลดลง







3. ปูนซีเมนต์ก่อสำเร็จรูป 
            ปัญหาทรายที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ในเรื่องขนาดเม็ดที่ไม่เหมาะสม และมักมีสิ่งสกปรกหรือสารเคมีเจือปนอยู่ และยังมีปัญหาที่เกิดจากการผสมที่ไม่ได้สัดส่วน  ซึ่ง
สัดส่วนการผสมปูนซีเมนต์ จะขึ้นอยู่กับความชำนายของช่างแต่ละคน ซึ่งใช้สัดส่วนในการผสมไม่เหมือนกัน  ปัญหาเหล่านั้นจะส่งผลต่อคุณภาพของงานทั้งสิ้น แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยใช้ปูนซีเมนต์ก่อสำเร็จรูป  เช่นปูนซีเมนต์สำเร็จรูปตราทีพีไอ ปูนซีเมนต์ก่อสำเร็จรูปตราลูกดิ่ง ปูนก่อสำเร็จรูปตราพระอาทิตย์ เป็นต้นปูนก่อสำเร็จรูป คือส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หินบดละเอียด และสารเคมีพิเศษ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับงานก่ออิฐ โดยการควบคุมอัตราส่วนผสม และคุณภาพของวัสถุดิบให้มีความ สม่ำเสมอ จึงได้ปูนที่มีความเหนียว มีแรงยึดเกาะสูง ทำให้ผนังมีความแข็งแรงคงทน และมีความสะดวกในการใช้งาน เพียงฉีกถุงผสมน้ำก็สามารถใช้น้ำได้ทันที โดยไม่ต้องผสมทราย
หรือสารเคมีเพิ่ม จึงป้องกันปัญหาทรายที่ไม่ได้มาตรฐานหรือส่วนผสมที่ไม่ได้สัดส่วน   อีกอย่างการบรรจุถุง ยังช่วยลดปัญหาการสูยเสียเนื่องจากการกองเก็บหรือขนย้ายและยังใช้พื้นที่ในการกองเก็บน้อย จึงช่วยแก้ปัญหาพื้นที่กองเก็บ วัสดุในหน่วยงานที่มีพื้นที่ก่อสร้างจำกัดได้อีกด้วย ปูนซีเมนต์ก่อสำเร็จรูปโดยทั่วไป มีน้ำหนัก 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 1-3 ตรม. ขึ้นอยุ่กับชนิดและรูปแบบของการก่ออิฐ



 ปูนซีเมนต์

 ปูนซีเมนต์




4. อิฐ
     ควรเลือกอิฐที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เช่นอิบมอญหรืออิฐก่อสร้างสามัญ ควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อิฐก่อสร้างสามัญ หรือ
มอก.77 เป็นต้น กล่าวคือ ต้องมีความแข็งแรงและเหมาะสมกับงาน มีเหลี่ยมมุมสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าว มีขนาดใกล้เคียงไม่บิดงอ



บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ขอบคุณเอกสารวิชาการ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม 2547
จัดทำบทความโดย: www.trichgroup.com
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;www.trichgroup.com
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

...............................................................................................................................................





ปูนซีเมนต์และการประยุกต์ใช้งาน

ปูนซีเมนต์และการประยุกต์ใช้งาน

นอกจากคุณภาพของปูนซีเมนต์ที่ดีและได้มาตรฐานแล้ว การเลือกประเภทของปูนซีเมนต์ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งานนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
เพราะจะประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย  ระยะเวลา และการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาเนื่องจากการใช้งานปูนซีเมนต์ไม่ถูกประเภทได้

การจำแนกประเภทของปูนต์ซีเมนต์  สามารถจำแนกประเภทของปูนซีเมนต์ตามลักษณะการใช้งาน ออกเป็น 3 กลุ่่มหลักๆได้แก่
1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างและงานหล่อผลิตภัณฑ์คอนกรีต เช่น ปูนแดงทีพีไอ , ปูนทีพีไอรับกำลังอัดเร็ว,ปูนทีพีไอทนซัลเฟตสูง,
ปูนตราทีพีไอ ทนน้ำเค็ม  ดินเค็ม , เป็นต้น    ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement)  ตาม มอก. 15 เล่ม 1 : แบ่งเป็น 5 ประเภท
และ ASTM C 150 : แบ่งเป็น 8 ประเภทโดยเพิ่มประเภท 1A, 2A, และ3A


 ปูนซีเมนต์




 2. ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อ งานฉาบ เช่น ปูนเขียวทีพีไอ, ปูนเขียวตราลูกโลก, ปูนสำเร็จรูปตราทีพีไอ สูตรต่างๆ
     ปูนซีเมนต์สำหรับงาน ก่อ-ฉาบ-เท    ต้องได้รับตามมารฐานตาม มอก. 80
     ปูซีเมนต์สำหรับงานฉาบ ต้องได้รับมาตรฐาน ASTM C 91


 ปูนซีเมนต์



3.  ปูนซีเมนต์สำหรับงานพิเศษ เช่น ปูนซีเมนต์ทีพีไอขุดเจาะน้ำมัน ,ปูนซีเมนต์ขาวตราทีพีไอ




...........................................................................................................................

บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ขอบคุณเอกสารวิชาการ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม 2547
จัดทำบทความโดย:www.trichgroup.com
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;www.trichgroup.com
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย









ผลิตและจำหน่ายเสาเข็มและแผ่นพื้นสำเร็จรูป


เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ และผลงานขายของเราได้ที่
ผลิตภัณฑ์ แผ่นพื้นสำเร็จรูปและเสาเข็มอัดแรง

http://www.trichgroup.com/
ผลิตภัณฑ์ อิฐมวลเบา
http://xn--12cf9azas5bpor1d4cbbs0g2e.blogspot.com/
ผลิตภัณฑ์ ปูนซีเมนต์
http://xn--12cfu4bgobn0dwa9nb6a5cl7hsj.blogspot.com/

"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"
บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด จากประสบการณ์ การทำงานก่อสร้างให้ลูกค้ามาเป็นเวลา 10 ปีเราเข้าใจดี
อะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ โครงการก่อสร้างของท่านประสบณ์ความสำเร็จ ท่านคงปฎิเสธไม่ได้ว่า"ต้นทุนที่ต่ำเท่าไหร่ ผลกำไรก็มากเท่านั้น"
อีกอย่างบริษัทของเรามีโรงงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีต ซึ่งทำให้เรามีสินค้าที่สามารถรองรับบความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา
รวมทั้งจากประสบณ์การของผู้บริหารที่เคยเป็นพนักงานของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่
เราจึงกล้าพูดได้ว่า " เราเป็นมืออาชีพเรื่องวัสดุก่อสร้าง " และยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
เราเป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย โดยตรงจากโรงงาน ทุกกลุ่ม ทุกโรงงาน ที่เป็นวัสดุหลักของงานก่อสร้าง ได้แก่
โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ , โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ , โรงงานผลิตอิฐมวลเบา ,อิฐบล็อก ,อิฐมอญ,
โรงงานผลิตเหล็กเส้นก่อสร้าง และเหล็กรูปพรรณ ฯลฯ
"ราคาต่ำจริงๆ" เรามีนนโยบายขายสินค้าส่งอย่างเดียว ไม่ขายหน้าร้าน เพราะฉะนั้นสินค้าของเราจึงมีราคาต่ำทุกตัว
ออกจากโรงงานส่งถึงหน้างานเลย จะไม่มีค่าดอกเบี้ยที่แฝงอยู่ในราคาสินค้าเพราะนำสินค้ามากองเก็บไว้เหมือนกับร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป
ลูกค้าของเราคือลูกค้าทุกกลุ่มที่ใช้งานปริมาณเยอะๆๆมีสินค้าเต็มเที่ยว 6 ล้อ 10ล้อ หรือเทเลอร์ ในรคาที่พิเสษสุดๆๆ
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า บริการของเราได้ 02 988 5559, 0890795722
หรือ idline: @TRICH
Email: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

แล้วท่านจะประทับใจในบริการของเรา